นครศรีธรรมราช : เมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
Nakhon Si Thammarat : Cultural Heritage Learning City
หน้าแรก
ความเป็นมา
ย่าน
ย่านพระเวียง
ย่านเมืองเก่า
ย่านท่าวัง
ย่านท่าตีน
MOOC
พิพิธภัณฑ์
เกม
ภาคีเครือข่าย
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
TAT : Nakhon Si Thammarat + Phatthalung
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ติดต่อเรา
Login
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม
ชื่อย่าน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
ชนิดมรดกทางวัฒนธรรม
Search
มรดกทางวัฒนธรรม >> หอพระครูกาชาด
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม : หอพระครูกาชาด
พระครูกาชาด (ย่อง อินทสุวณณเถร) พระนามเดิม ย่อง ขณะนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล เกิดปี พ.ศ. 2378 ใกล้วัดพรหมโลก (บ้านหลังเขา) อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาเป็นชาวจีนไม่ทราบนาม และนางบัวทองเป็นมารดา มีน้องสาว 2 คน ได้แก่ นางไหม และนางปาน ต่อมาเมื่อโยมพ่อเสียชีวิต โยมแม่บัวทองได้นำท่านกับน้องสาวทั้งสองมาอยู่บ้านปากสระ ตำบนนาเคียน อำเภอเมือง โดยโยมแม่บัวทองได้สามีใหม่ชื่อนายแก้ว มีบุตรชายอีก 2 คน และมีบุตรี 2 คน บุตรชายชื่อนายคลิ้ง นายคล้าย บุตรีชื่อนางศีล และนางทองทรัพย์
ในปี พ.ศ. 2431 เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี เมื่อครั้งเป็นพระยานครศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระย่อง จัดวัดเสามาเมืองมาเป็นเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก
พระอธิการย่อง เมื่อปกครองวัดวังตะวันตกได้เปิดสำนักเรียนบาลีขึ้นที่วัดวังตะวันตก และมีการปลูกสร้างถาวรวัตถุ ตามที่ปรากฏหลักฐานให้สืบทราบได้ มีดังนี้
ระหว่างปี พ.ศ. 2431 – 2438 สร้างหมู่กุฏิทรงไทย และโรงครัว ในวัดวังตะวันตก เพื่อเป็นที่พักจำวัดของภิกษุสามเณร
ระหว่างปี พ.ศ. 2439 – 2441 สร้างสะพานยาวเชื่อมระหว่างบ้านนอกไร่กับท่าวัง โดยตัวสะพานทอดข้ามทุ่งปรังหลังวัดศรีทวี ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขังยากแก่การสัญจรผ่านเข้าสู่ตลาดท่าวัง ทำให้ชาวบ้านคมนาคมสะดวกสบายอย่างมาก สะพานพระอธิการย่องสร้างครั้งนั้นเป็นสะพานไม้ กว้าง 2 เมตร ยาว 500 เมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 – 2503 ครูน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงสะพานยาวนี้ขึ้นใหม่ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และขยายขนาดตัวสะพานให้กว้างออกไปอีก 1 เมตร เป็น 3 เมตร พร้อมทั้งสร้างศาลาคอนกรีตสำหรับพักระหว่างทางไว้กลางสะพาน ต่อมีในปี 2530 สะพานไม้ได้ชำรุดลงมาก ประกอบกับมีการใช้รถยนต์เพื่อการสัญจรมากขึ้น จึงได้รื้อถอนสะพานเดิมออก ถมเป็นถนนขึ้นแทน เหลือไว้แต่ศาลาคอนกรีตกลางสะพาน ต่อมาเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้สร้างอนุสรณ์สะพานยาวขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เพื่อระลึกถึงสะพานยาวอันเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราชที่ถูกรื้อถอนจนไม่หลงเหลือร่องรอยของตัวสะพานแล้วด้วยเหตุผลความเปลี่ยนแปลงของกายภาพ และระบบถนนหนทางของเมืองนครในปัจจุบัน
สมณศักดิ์ ปี พ.ศ. 2442 พระวินัยธร ย่อง และในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูกาชาด
มรณภาพปี พ.ศ. 2460 สิริอายุ 82 ปี 62 พรรษา
พื้นที่ : วัดวังตะวันตก
เวลาที่บริการ : 07.00 - 20.00 น.
แหล่งอ้างอิง : สุรเชษฐ์ แก้วสกุล พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ อินทโสภิโต) บัญชา พงษ์พานิช ธีระพันธุ์ จันทร์เจิรญ และ โกมล พันธรังสี. (2561). คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร และ นานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองคร. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
Counter of page 331